ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?

ผู้ประกอบการเช็คให้ชัวร์! ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่เช่านั้นมีมาตรฐานหรือไม่?

25 ก.พ. 2565   ผู้เข้าชม 2,773

สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อใช้ภายในกิจการ สิ่งแรกที่ต้องให้ความสำคัญเลยก็คือ การตรวจสอบว่าถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณเลือกใช้อยู่นั้น มีคุณภาพได้มาตรฐานหรือไม่ ตัวถังมีจุดที่ชำรุดเสียหายหรือไม่ บริษัทผู้ให้เช่าถังน้ำมัน มีประสบการณ์หรือความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด เพราะสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งที่คุณ ในฐานะผู้เช่าควรต้องตรวจสอบให้ดีก่อนการเช่าและติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

บทความนี้ แพนด้า สตาร์ ออยล์ จะพาคุณมารู้จัก ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มีมาตรฐาน ว่าควรมีลักษณะอย่างไร ให้คุณสามารถตรวจสอบด้วยตนเองได้ง่าย ๆ ว่า ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่คุณกำลังเช่าอยู่นั้นได้มาตราฐานหรือไม่ และเรายังมีคำแนะนำดี ๆ สำหรับผู้ประกอบการที่ใช้ถังน้ำมันนำมาฝากกัน ทั้ง เรื่องการติดตั้งระบบป้องกันอัคคีภัย และตำแหน่งติดตั้งป้ายเตือนบริเวณถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

ทำไมหลายอุตสาหกรรมถึงเลือกใช้ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง?

ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย คือ ถังที่มีไว้สำหรับเก็บหรือสำรองน้ำมันเชื้อเพลิง โดยโครงสร้างถังสำรองน้ำมันส่วนใหญ่ จะเป็นรูปทรงกระบอกที่ทำด้วยเหล็กและตั้งอยู่บนพื้น ด้วยฐานของถังที่ทำมาให้สามารถตั้งได้ทั้งบนพื้นดินทั่วไป ฐานคอนกรีต หรือฐานเหล็ก ซึ่งข้อดีของการติดตั้งถังน้ำมันเชื้อเพลิงรูปแบบนี้ ทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบบริเวณพื้นถังด้านล่างได้ง่ายและสะดวกกว่าการติดตั้งบนพื้นดินโดยตรง และหากคุณเลือกใช้ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ที่มาพร้อมหัวจ่าย ที่มาพร้อมรถด้วยแล้ว ก็จะยิ่งสะดวกต่อการใช้การงานมากยิ่งขึ้น เพราะสามารถเคลื่อนที่ไปยังบริเวณต่าง ๆ ได้โดยง่าย

 

ลักษณะของถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้มาตรฐาน

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

  • ผนังถังน้ำมัน

ความหนาของเหล็กที่ใช้สำหรับทำผนังถังน้ำมันเก็บเชื้อเพลิงนั้น ต้องมีการคำนวณค่าความหนาของตัวถังน้ำมันและออกแบบ เพื่อให้ถังน้ำมันสามารถรับน้ำหนักในการบรรทุก รวมถึงมีความต้านทางต่อแรงดันภายในถังได้ และเมื่อบวกกับค่าการกัดกร่อน ต้องมีความหนาของเหล็กไม่น้อยกว่าความหนาต่ำสุด ตามที่มีการกำหนดไว้ ดังต่อไปนี้

 

ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของถัง (เมตร) ความหนาต่ำสุด (มิลลิเมตร)
น้อยกว่า 15 เมตร  5 มิลลิเมตร
15 เมตร แต่ไม่ถึง 36 เมตร 6 มิลลิเมตร
36 เมตร ถึง 60 เมตร  8 มิลลิเมตร
มากกว่า 60 เมตร 10 มิลลิเมตร

 

  • พื้นถังน้ำมัน

แผ่นเหล็กจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่า 6 มิลลิเมตร โดยถังน้ำมันที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ 12.50 เมตรขึ้นไป จะต้องมีแผ่นเหล็กวงแหวน ที่มีความหนาตรงกับค่าที่กำหนด เพื่อรองใต้แผ่นเหล็กของผนังถังน้ำมัน

  • การเชื่อมต่อท่อเข้ากับผนังถังน้ำมันเชื้อเพลิง

สำหรับท่อที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน 2 นิ้ว ผนังของถังน้ำมันตรงจุดที่เชื่อมต่อท่อ จะต้องมีการเสริมความแข็งแรง ตรงหน้าตัดของเหล็กเสริมแรง ซึ่งจะต้องมีความหนาไม่น้อยกว่าความหนาของผนังถังน้ำมัน และต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 2 เท่าของพื้นที่ช่องท่อ 

  • การวางรากฐาน

ต้องสำรวจพื้นดินบริเวณโดยรอบที่ต้องการติดตั้งถังน้ำมัน ให้มีความหนาแน่นมากพอ ที่เมื่อติดตั้งตัวถังน้ำมันและบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงแล้ว พื้นดินจะไม่เกิดการยุบหรือทรุดตัว สำหรับการเชื่อมต่อรากฐานเหล็กกับตัวถังน้ำมัน ต้องเชื่อมให้มีความมั่นคงแข็งแรงและปลอดภัย


การเตรียมช่องทางเข้า - ออก

ถังน้ำมันเชื้อเพลิง

ช่องทางเข้า - ออก จะมีอยู่ 2 รูปแบบ โดยแบ่งออกตามขนาดของถังน้ำมัน ดังนี้

 

  • รูปแบบที่ 1 : ถังน้ำมันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเกิน กว่า 25 เมตร 

ต้องมีช่องทางเข้า - ออก อย่างน้อยจำนวนสามช่อง ตรงบริเวณหลังคาถังน้ำมัน 1 ช่อง

บริเวณผนังถังน้ำมัน 2 ช่อง โดยตรงผนังถังน้ำมันช่องทางเข้า - ออก ทั้ง 2 ช่องต้องอยู่ตรงกันข้ามกัน

 

  • รูปแบบที่ 2 : ถังน้ำมันที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 25 เมตร 

ต้องมีช่องทางเข้า - ออก อย่างน้อย 2 ช่องคือ ตรงบริเวณหลังคาถังน้ำมัน 1 ช่อง และ ตรงบริเวณผนังถังน้ำมัน 1 ช่อง 


เมื่อการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรมีการทดสอบการรรั่วซึมของตัวถังน้ำมันและข้อต่อต่าง ๆ โดยใช้แรงดันน้ำแรงอัดอากาศตามระยะเวลาที่มีการกำหนดไว้ หากพบจุดที่มีการรั่วซึม ควรทำการแก้ไขและทดสอบใหม่อีกครั้งจนกระทั่งไม่พบการรั่วซึมอีก

 

การติดตั้งอุปกรณ์ระงับอัคคีภัยและอุปกรณ์ป้องกัน

 

การติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ชนิดไวไฟมาก ชนิดไวไฟปานกลาง หรือชนิดไวไฟน้อย ที่มีจุดวาบไฟไม่เกิน 93 องศาเซลเซียส บริเวณที่ตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องมีการจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย ดังต่อไปนี้

 

เครื่องดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิง

ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย

ควรมีขนาดบรรจุไม่น้อยกว่า 6.80 กิโลกรัม มีความสามารถในการดับเพลิงไม่น้อยกว่า 3A 40B ( คำอธิบายด้านล่าง ) ตามมาตรฐานระบบป้องกันอัคคีภัย และมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งเครื่อง และมีการตรวจสอบสภาพเครื่องดับเพลิงให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ โดยผู้ประกอบการจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก ๆ 6 เดือน โดยมีหลักฐานการตรวจสอบติดหรือแขวนไว้ที่เครื่องดับเพลิง

 

คำอธิบาย ( ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพในการดับไฟ หรือ Fire Rating ) 

ตัวอักษร A คือ ประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของแข็ง (Class A) เช่น ไม้ กระดาษ ขนสัตว์ พลาสติก เป็นต้น

ตัวอักษร B คือ ประสิทธิภาพในการดับไฟที่เชื้อเพลิงเป็นของเหลว (Class B) เช่น น้ำมัน ทินเนอร์ ก๊าซ เป็นต้น

ตัวเลข คือ ขนาดเชื้อเพลิงมาตรฐานที่ทางสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกำหนด สำหรับวัดประสิทธิภาพการดับไฟ ระดับความสามารถของเชื้อเพลิง สำหรับ Class A มีตั้งแต่ 1A - 40A, สำหรับ Class B มีตั้งแต่ 1B - 80B

 

ทราย

ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง

ควรมีทรายในปริมาณไม่น้อยกว่า 20 ลิตร ในบริเวณที่ติดตังถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และต้องเป็นจุดที่สามารถนำทรายมาใช้ได้สะดวกตลอดเวลา

 

ป้ายเตือน

หัวจ่ายน้ำมัน

เมื่อมีการติดตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง จะต้องมีการติดตั้งป้ายเตือนให้อยู่ห่างจากจุดที่มีการติดตั้งในระยะไม่เกิน 2 เมตร และข้อความที่ระบุในป้ายต้องสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีความสูงของตัวอักษรไม่น้อยกว่า 2.50 เซนติเมตร ซึ่งข้อความที่ต้องมีระบุในป้ายเตือน คือ อันตราย, ห้ามสูบบุหรี่, ห้ามก่อประกายไฟ 

 

เห็นรึยังว่า นอกจากการตรวจสอบ ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง หรือ ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่ายน้ำมัน ให้ได้มาตรฐานแล้ว การติดตั้งป้ายแจ้งเตือนหรือการเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ดับเพลิง ในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสำคัญและมีจุดประสงค์ไว้เพื่อความปลอดภัยต่อตัวผู้ใช้งาน และยังช่วยป้องกันความเสียหายต่อทรัพย์สินอีกด้วย

 

ถังน้ำมันพร้อมหัวจ่าย

แพนด้า สตาร์ ออยล์ ยินดีให้บริการเช่าถังน้ำมันหรือแทงค์น้ำมันเชื้อเพลิงแบบลอยได้มาตรฐาน โดยมีให้เลือกตั้งแต่ ขนาดบรรจุ 1,000 ลิตร ไปจนถึงขนาดบรรจุ 10,000 ลิตร เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งในงานอุตสาหกรรม งานรับเหมาก่อสร้าง หรือโรงพยาบาล ที่จำเป็นต้องใช้น้ำมันเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก เราให้บริการคลอบคลุมทั่ว 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงราย น่าน แพร่ แม่ฮ่องสอน อุตรดิตถ์


เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

พร้อมหรือยัง? เผยทุกขั้นตอนการใช้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้า PEA VOLTA สำหรับผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)
01 ธ.ค. 2564

พร้อมหรือยัง? เผยทุกขั้นตอนการใช้บริการสถานีชาร์จไฟฟ้า PEA VOLTA สำหรับผู้ใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้า (EV)

สาระน่ารู้
ถอดรหัสลับ! เลขบนแกลอนถังน้ำมันเครื่องก่อนเลือกซื้อ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง
09 ก.พ. 2565

ถอดรหัสลับ! เลขบนแกลอนถังน้ำมันเครื่องก่อนเลือกซื้อ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง

สาระน่ารู้
น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไรมาดูกัน?
08 ก.พ. 2565

น้ำมันเครื่องเสื่อมสภาพเร็ว เกิดจากสาเหตุอะไรมาดูกัน?

สาระน่ารู้