ถอดรหัสลับ! เลขบนแกลอนถังน้ำมันเครื่องก่อนเลือกซื้อ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง

ถอดรหัสลับ! เลขบนแกลอนถังน้ำมันเครื่องก่อนเลือกซื้อ เพื่อใช้งานได้อย่างถูกต้อง

08 ก.พ. 2565   ผู้เข้าชม 28,519

น้ำมันเครื่องที่มีวางขายอยู่ทั่วไปหลากหลายยี่ห้อ หลากหลายประเภท ย่อมมีคุณสมบัติโดดเด่น ในการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปแล้ว คุณเคยสงสัยกันไหมว่า?  ตัวเลข และ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ ที่อยู่บนฉลากแกลอนน้ำมันเครื่องนั้นหมายถึงอะไร หรือจะเป็นค่าความหนืด ที่มักจะถูกระบุอยู่บนฉลากด้านหลังแกลอนน้ำมันเครื่องหมายความว่าอย่างไร แล้วสำหรับรถยนต์ของคุณควรเลือกใช้แบบไหน

ในบทความนี้ แพนด้า สตาร์ ออยล์ จะพาคุณไปอ่านค่าตัวเลข เพื่อถอดรหัสลับบนแกลอนน้ำมันเครื่องกัน รวมถึงมาตรฐานของน้ำมันเครื่องที่ใช้กันหลัก ๆ ในปัจจุบัน คือ มาตรฐาน SAE และ API คืออะไร เพื่อประโยชน์ในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับการใช้งานและประเภทเครื่องยนต์ของรถยนต์คุณ

ทำความรู้จักกับ มาตรฐานของน้ำมันเครื่องรถยนต์

น้ำมันเครื่อง

มาตรฐานของน้ำมันเครื่องรถยนต์ ถูกกำหนดขึ้นมาจาก ผลการทดสอบกับเครื่องยนต์แบบต่าง ๆ โดยมีการกำหนดวิธีการทดสอบให้ใกล้เคียงกับสภาพการใช้งานจริง โดยแบ่งออกเป็น 5 มาตรฐาน คือ

  SAE   SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS
  API   AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE
  US MILITARY CLASSIFICATION   สถาบันทางทหารของสหรัฐอเมริกา
  ASTM   AMERICAN SOCIETY FOR TESTING AND MATERIALS
  CCMC   COMMITTEE OF COMMON MARKET CONSTRUCTION

 

ส่วนในบทความนี้ เราจะชวนมาทำความรู้จัก 2 มาตรฐานหลัก ๆ ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันคือ SAE และ  API

 

1.มาตรฐาน SAE  (SOCIETY OF AUTOMOTIVE ENGINEERS)

น้ำมันหล่อลื่น

จะประกอบด้วยตัวเลข 2 ชุด คือ SAE XW-XX

ยกตัวอย่างเช่น 10W - 30

ตัวเลขชุดแรก “ 10W ” หมายถึง ค่าการทนต่อความเย็นของน้ำมันเครื่อง ตัวอักษร W ย่อมาจาก Winter โดยค่าการทนความเย็นของน้ำมันเครื่องแบ่งออกได้ ดังนี้

  0W    = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า   – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

  5W    = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง          – 30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

  10W  = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง          – 20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

  15W  = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง          – 10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

  20W  = สามารถคงความข้นใสไว้ได้ถึง               0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข

 

ชุดตัวเลขที่สอง “ 30 ” หมายถึง ค่าความหนืด หรือ ค่าความข้น - ความใสของน้ำมันเครื่อง เมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูง โดยวัดที่ 100 องศาเซลเซียส จากอุณหภูมิการทำงานจริงของเครื่องยนต์ และแทนค่าออกมาเป็นตัวเลขเรียกว่า “ เบอร์ของน้ำมันเครื่อง ” เช่น 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 ซึ่งพบว่า ค่าตัวเลขยิ่งมากยิ่งทำให้มีความหนืดมากตาม ค่าตัวเลขน้อยความหนืดก็จะน้อยลงตามลำดับ


ซึ่งค่าเหล่านี้มีความสำคัญ ควรเลือกใช้ให้เหมาะกับสภาพอากาศในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากน้ำมันเครื่องจะหนาขึ้นเมื่อเจอกับอุณหภูมิเย็น และบางลงอีกครั้งเมื่อได้รับความร้อนสูง น้ำมันเครื่องที่มีความหนืดต่ำและบาง จึงไหลได้ง่ายกว่าเพื่อปกป้องชิ้นส่วนเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิเย็น ส่วนน้ำมันที่มีความหนืดสูงและหนา โดยทั่วไปจะรักษาความแข็งแรงของฟิล์มได้ดีกว่าเพื่อปกป้องเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิร้อนสูง

 

2. มาตรฐาน API (AMERICAN PETROLEUM INSTITUTE)

น้ำมันหล่อลื่น

มาตรฐาน API เป็นตัวบ่งบอกคุณภาพของน้ำมันเครื่อง โดยมาตรฐาน API จะขึ้นต้นด้วย API และตามด้วยตัวอักษร S และ C ดังนี้

  •  S (Service Station Classifications) ใช้สำหรับเครื่องยนต์เบนซิน เช่น API SA SB SC SD 
  •  C (Commercial Service - Compression Ignition) ใช้สำหรับเครื่องยนต์ดีเซล เช่น API CA CB CF- 4 CG- 4 (ตัวเลข 4 หมายถึงใช้กับเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะ) 

สำหรับการอ่านค่าน้ำมันเครื่องมาตรฐาน API จะมีเฉพาะตัวอักษรด้านท้ายตัวเดียวเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลง (ตัวอักษรที่ขีดเส้นใต้) โดยอักษรตัวสุดท้ายจะเริ่มต้นตามตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือ A B C ไล่ไปเรื่อย ๆ จนถึงตัวอักษรตัวสุดท้ายคือ Z ยิ่งใกล้ตัวอักษร Z มากเท่าไหร่ นั่นหมายถึงคุณภาพของน้ำมันเครื่องก็ยิ่งเป็นเกรดคุณภาพสูงขึ้นเท่านั้น 

 

น้ำมันเครื่อง เกรดเดี่ยว และ เกรดรวม ต่างกันยังไง?

น้ำมันเครื่องที่เรารู้จักกันทั่ว ๆ ไปมีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่

 

1. น้ำมันเครื่องธรรมดา

น้ำมันเครื่องรถยนต์

 

2. น้ำมันเครื่องสังเคราะห์

น้ำมันเครื่อง

 

3. น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์

น้ำมันหล่อลื่น


น้ำมันเครื่องรถยนต์ยังถูกแบ่งออกเป็น 2 เกรด คือ

น้ำมันเครื่องรถยนต์มีทั้งหมด 2 เกรดด้วยกัน ได้แก่

 

1. น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว Single Grad

น้ำมันเครื่องราคาส่ง

น้ำมันเครื่องที่มีค่าความหนืดเหมาะสมกับเฉพาะอุณหภูมิเดียว ที่ระบุอยู่บนฉลากแกลอนน้ำมันเครื่องเท่านั้น เช่น SAE50 หรือ SAE40 ซึ่งหมายความว่า น้ำมันเครื่องชนิดนี้จะปกป้องเครื่องยนต์ได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิ 50 หรือ 40 องศา ตามที่ระบุไว้ เหมาะกับเครื่องยนต์ที่มีรอบต่ำ หรือ เครื่องยนต์รุ่นเก่า ๆ และประเทศในเขตร้อนอย่างบ้านเรา ข้อดีคือ ราคาถูก แต่ไม่เป็นที่นิยมเพราะมีอายุการใช้งานสั้น


2 น้ำมันเครื่องเกรดรวม Multi Grad

น้ำมันเครื่อง

น้ำมันเครื่องที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความหนืดได้ตามอุณหภูมิ เช่น เมื่ออยู่ในอุณหภูมิสูงก็จะมีความใส เมื่อกลับมาอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำลง ก็ยังสามารถคงความข้นใสเอาไว้ได้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเลือกใช้ในทุกอุณหภูมิของเครื่องยนต์ นิยมใช้กับรถรุ่นใหม่ และประเทศในเขตหนาวเย็น

 

เป็นยังไงกันบ้างกับการอ่านค่าบนแกลอนน้ำมันเครื่อง ที่เรานำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าคงจะช่วยคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับตัวเลขต่าง ๆ บนฉลากแกลอนน้ำมันเครื่องให้กับคุณไปได้บ้าง รวมถึงเป็นประโยชน์ ในการเลือกใช้น้ำมันเครื่องให้เหมาะกับเครื่องยนต์และการใช้งานรถยนต์ของคุณต่อไป 

เพราะการเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่ดีมีคุณภาพ ย่อมช่วยปกป้องและยืดอายุการใช้งานรถของคุณได้อย่างแน่นอน แพนด้า สตาร์ ออยล์ บริการจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นคุณภาพสูงหลากหลายยี่ห้อ ทั้งน้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรค และน้ำมันเครื่องราคาส่ง สำหรับเครื่องยนต์ดีเซลและเบนซินทุกประเภท

ขอขอบคุณรูปภาพจาก Caltex Thailand


เกร็ดความรู้ที่เกี่ยวข้อง

หากปล่อยน้ำมันเครื่องแห้ง จะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง?
31 ม.ค. 2565

หากปล่อยน้ำมันเครื่องแห้ง จะเกิดข้อเสียอะไรบ้าง?

สาระน่ารู้
รู้หรือไม่! 6 ของเหลวในรถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนถ่ายมีอะไรบ้าง?
28 ม.ค. 2565

รู้หรือไม่! 6 ของเหลวในรถยนต์ที่ต้องเปลี่ยนถ่ายมีอะไรบ้าง?

สาระน่ารู้
รู้ไว้! เติมน้ำมันรถยนต์เองไม่ยากอย่างที่คิด
01 ต.ค. 2564

รู้ไว้! เติมน้ำมันรถยนต์เองไม่ยากอย่างที่คิด

สาระน่ารู้